แอร์พอร์ต เรล ลิงก์
รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ( Suvarnabhumi Airport Rail Link) หรือ แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ เป็นโครงการระบบขนส่งมวลชนแบบพิเศษ เดิมอยู่ในโครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าในระบบรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน-ฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงข่ายระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพ มหานครและพื้นที่ต่อเนื่อง ภายหลังรัฐบาลให้โครงการนี้มาเป็นโครงการเร่งด่วนและแยกการก่อสร้างต่างหากจากระบบรถไฟฟ้าชานเมือง ดำเนินการก่อสร้างโดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และได้เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2553 โดยบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจในกระทรวงคมนาคม ซึ่งเป็นบริษัทลูกของการรถไฟแห่งประเทศไทย ต่อมารัฐบาลได้มีการรวมรถไฟฟ้าสายนี้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน จึงมีการเปลี่ยนผู้ดำเนินการเป็น บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ภายใต้สัญญาว่าจ้างดำเนินงานจาก บริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด โดยเริ่มในปี พ.ศ. 2564
รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ARL) ( ไทย : รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิRt̄hfịfācheụ̄xmthāxākāṣ̄yāns̄uwrrṇp̣hūmi ) เป็นด่วนและพร็อพรถไฟในกรุงเทพฯ , ประเทศไทย สายนี้ให้บริการรถไฟฟ้าเชื่อมสนามบินจากสนามบินสุวรรณภูมิผ่านสถานีมักกะสันไปยังสถานีพญาไทใจกลางกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่อยู่บนสะพานข้ามทางรถไฟสายหลักสายตะวันออก เป็นของการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) และดำเนินการโดย บริษัท อีสเทิร์นไฮสปีดเรลลิงค์ชิ่งทรีแอร์พอร์ต จำกัด ซึ่งเป็นยานยนต์พิเศษโดยกลุ่ม บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้งและพันธมิตร ได้แก่เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง (CP), ช. บมจ. การช่าง (CK) บมจ. ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) บมจ. อิตาเลียนไทยดีเวล๊อปเมนต์ (ITD) และChina Railway Construction Corporation (CRCC) รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ระยะทาง 28.6 กิโลเมตร (17.8 ไมล์) เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2553 [1]บริการเดิมประกอบด้วยบริการด่วนและ City Line ซึ่งเป็นรถไฟโดยสารบริการแปดสถานี อย่างไรก็ตามตั้งแต่เดือนกันยายน 2014 บริการด่วนทั้งหมดได้ถูกระงับอย่างไม่มีกำหนดเนื่องจากปัญหาการขาดแคลนสินค้าคงคลัง
ลักษณะการให้บริการ
เป็นระบบรถไฟฟ้าขนาดหนัก (heavy rail transit)
ทางวิ่ง ยกระดับที่ความสูง 20 เมตรตลอดทั้งโครงการ ยกเว้นช่วงเข้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ รถไฟฟ้าจะลดลงเป็นระดับดินหลังข้ามถนนสุวรรณภูมิ 2 แล้วลดระดับเป็นรถไฟฟ้าใต้ดินที่ความลึก 12 เมตรจากผิวดิน
ขนาดราง 1.435 เมตร (European standard gauge) โดยมีสายไฟฟ้าแรงสูงตีขนานอยู่เหนือราง ระบบรถไฟฟ้าใช้วิธีการรับไฟฟ้าจากด้านบนด้วยแพนโทกราฟ
ตัวรถเป็นรถปรับอากาศขนาดกว้าง 2.8-3.7 เมตร ยาว 20 เมตร สูงประมาณ 3.7 เมตร ความจุ 250-300 คนต่อคัน ต่อพวงได้ 3-10 คันต่อขบวน ใช้ไฟฟ้ากระแสสลับ 25 กิโลโวลต์ 50 เฮิรตซ์ ส่งจากสถานีจ่ายไฟฟ้าย่อยบางกะปิของการไฟฟ้านครหลวงเพื่อป้อนระบบขับเคลื่อนรถ สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 50,000 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง
ARL ให้บริการทุกวันตั้งแต่ 05:30 น. - 24:00 น. โดยจะออกทุก ๆ 10–11 นาทีในช่วงชั่วโมงเร่งด่วน (06: 00-09: 00 น. และ 16: 00-20: 00 น.) และทุก ๆ 12–13 นาทีจากจุดสูงสุดและ วันหยุดสุดสัปดาห์ ใช้ระบบอาณัติสัญญาณเดินรถด้วยระบบอัตโนมัติจากศูนย์ควบคุมการเดินรถ และใช้ระบบเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติ
สายในการวิ่งของแอร์พอร์ตลิงค์มีทั้งหมด 2 สาย คือ SA Express Line และ SA City Line
SA Express จะวิงยาวจาก สถานีมักกะสัน ไป สนามบินสุวรรณภูมิโดยไม่อยุดกินก๋วยเตี่ยวเลยค่าโดยสาร 150 บาท
SA City Line จะจอดรับผู้โดยสารทุกสถานีเลยทีเดียวค่าโดยสาย 15-45 บาทตลอดสาย
แอร์พอร์ตลิงค์มีทั้งหมด 8 สถานี คือ
พญาไท ราชปรารภ มักกะสัน รามคำแหง หัวหมาก บ้านทับช้าง ลาดกระบัง สุวรรณภูมิ
บริการอื่นๆ
ที่จอดรถสำหรับผู้โดยสาร มีพื้นที่จอดรถสำหรับการจอดรถให้ทุกสถานี และมีพื้นที่สำหรับการจอดรถแบบรายวัน ที่สถานีมักกะสัน ซึ่งสามารถจอดได้ประมาณ 500 คัน
ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว มีบริการศูนย์บริการนักท่องเที่ยวและซื้อสินค้าที่สถานีพญาไท (ใช้ร่วมกับรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท) สถานีมักกะสัน และสถานีสุวรรณภูมิ (โดยกองบังคับการตำรวจท่องเที่ยว ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ)
ศูนย์การค้า มีบริการร้านค้าและร้านอาหารภายในสถานีทุกแห่ง อย่างไรก็ตามไม่อนุญาตให้นำเข้าในบริเวณพื้นที่ตรวจบัตรโดยสารแล้ว
ธนาคารและจุดแลกเงินตรา มีบริการธนาคารสาขาของ ธนาคารทหารไทย และธนาคารกรุงไทย ที่สถานีสุวรรณภูมิ และมีบริการจุดแลกเงินตราต่างประเทศที่สถานีพญาไท และสถานีสุวรรณภูมิ
ตู้ถอนเงิน มีบริการตู้ถอนเงินทุกสถานี จากหลากหลายธนาคาร ปัจจุบันมี 6 ธนาคาร
โทรศัพท์ ในอดีตโครงการมีบริการโทรศัพท์จากทีโอทีให้บริการในสถานี นอกจากนี้ยังได้ร่วมมือกับ เอไอเอส, ดีแทค และ ทรูมูฟ เอช ในการวางโครงข่ายโทรศัพท์มือถือทั้ง 3G และ 4G ตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้า และมีบริการ Free Wi-Fi on Station และ Charging Station โดยความร่วมมือกับ กสท. โทรคมนาคม และ ทีโอที ให้ผู้โดยสารสามารถใช้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงได้ฟรีขณะรอรถไฟฟ้าบนสถานี