วัดพิชัยสงคราม
สร้างขึ้นตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. 2900 เป็นวัดโบราณมีมาแต่สมัยกรุงศรีรอยุธยามีนามปรากฏในราชพงศาวดาร ว่าวัดพิชัยบางแห่งเขียนว่าวัดพิไชย ได้เปลี่ยนนามใหม่ว่าวัดพิชัยสงครามในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ประมาณรัชกาลที่ 4 หรือ 5
หมุดหมายแห่งการกอบกู้เอกราชของสยามประเทศ ผ่านเส้นทางเดินทัพครั้งสำคัญของพระยาวชิรปราการ ซึ่งต่อมาสถาปนาเป็นสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เดิมชื่อวัดพิไชยหรือวัดพิชัย สันนิษฐานว่าคงจะสร้างขึ้นสมัยอยุธยา ราว ๆ พ.ศ. 1900 ไม่ปรากฎหลักฐานว่าใครเป็นผู้สร้างวัด แต่มีบทบาทสำคัญในช่วงวิกฤตขณะกองทัพพม่ารุกคืบเข้าสู่พระนคร ราว พ.ศ. 2309 พระยาวชิรปราการ เจ้าเมืองกำแพงเพชรในเวลานั้น เล็งเห็นว่าพม่าจวนเจียนจะยึดพระนครไว้ได้ ทหารและข้าราชการทั้งหลายต่างขวัญเสีย พระมหากษัตริย์ก็มิได้แข็งแกร่ง เห็นทีกรุงศรีอยุธยาจะเสียทีแก่พม่าเป็นครั้งที่ 2 แน่แล้ว ตรองได้ดังนั้นจึงรวบรวมกำลังพลตีฝ่าวงล้อมทหารพม่าข้ามแม่น้ำป่าสักไปตั้งหลักที่วัดพิชัย และได้มาตั้งพระสัตยาธิษฐานต่อหลวงพ่อใหญ่หรือพระพุทธพิชัยนิมิตร พระประธานในพระอุโบสถเพื่อขอให้เดินทางโดยปลอดภัย กลับมากอบกู้กรุงศรีอยุธยาและมีชัยชนะต่อข้าศึกซึ่งเป็นจริงในภายหลัง จนปราบดาขึ้นเป็นพระเจ้ากรุงธนบุรี คืนเอกราชแก่สยามได้สมดังความมุ่งหมาย ย้อนไปในคราวกรุงศรีอยุธยาแตก วัดพิชัยกลายเป็นวัดร้างเสื่อมโทรมลงไป กระทั่งได้รับการบูรณะราว ๆ สมัยรัชกาลที่ 4 หรือ 5 และได้เปลี่ยนชื่อเป็นวัดพิชัยสงคราม เพื่อเทิดเกียรติเหล่าทหารหาญที่กอบกู้เอกราชได้สำเร็จ
นอกจากเรื่องราวด้านประวัติศาสตร์แล้ว วัดพิชัยสงครามยังมีชื่อเสียงมากเรื่องพระดีศรีอยุธยาของหลวงพ่ออุดม พระครูวิชัยกิจจารักษ์ เจ้าอาวาส ผู้ร่ำเรียนวิชาพุทธาคม สายวัดประดู่ทรงธรรม และสายอยุธยาโบราณจนรู้แจ้ง ปลุกเสกวัตถุมงคลศักดิ์ศรีมากมาย เช่น เสื้อยันต์, ไม้ครู, ลูกสะกด และพิรอดแขน โดยเฉพาะตะกรุดถือเป็นวัตถุมงคลชิ้นเอกของหลวงพ่ออุดมที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง จนมีลูกศิษย์ลูกหาไปทั่วทุกสารทิศ เปิดให้เข้านมัสการได้ทุกวัน เวลา 08.00-16.30 น.
Pratu Chai Sub-district
Phra Nakhon Si Ayutthaya District
Phra Nakhon Si Ayutthaya 13000