วัดพระราม
เป็นวัดที่ใหญ่โตกว้างขวาง มีพระปรางค์ขนาดใหญ่เห็นเด่นชัดแต่ไกล องค์ปรางค์ก่อด้วยอิฐสอปูน เป็นสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยาตอนต้นที่นิยมทำเป็นพระปรางค์ เพราะได้รับอิทธิพลแบบเขมรโบราณจากเมืองละโว้ (ลพบุรี)
อยู่นอกเขตพระราชวังไปทางด้านทิศตะวันออก ตรงข้ามกับวิหารพระมงคลบพิตร สมเด็จพระราเมศวรทรงสร้างขึ้นตรงบริเวณที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระรามาธิบดีที่1 (พระเจ้าอู่ทอง) พระราชบิดา วัดนี้มีบึงขนาดใหญ่อยู่หน้าวัด เมื่อมีการสร้างกรุงศรีอยุธยา คงจะมีการขุดเอาดินในหนองมาถมพื้นที่วังและวัด พื้นที่ที่ขุดเอาดินมาได้กลายเป็นบึงใหญ่ บึงมีชื่อปรากฎในกฎมณเฑียรบาลว่า “บึงชีขัน” ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น “บึงพระราม” ปัจจุบันคือ “สวนสาธารณะบึงพระราม” ซึ่งใช้เป็นที่สำหรับพักผ่อนหย่อนใจของชาวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และสำหรับนักท่องเที่ยวที่มาเยือน
จุดน่าสนใจ
พระปรางค์ พระปรางค์องค์ใหญ่ ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยม สูงแหลมขึ้นไปด้านบนทางด้านทิศตะวันออก มีพระปรางค์องค์ขนาดกลางองค์ส่วนทางตะวันตกทำเป็นซุ้มประตู มีบันไดสูงจากฐานขึ้นไปทั้งสองข้าง ที่มุมปรางค์ประกอบด้วยรูปสัตว์หิมพาน มีปรางค์ขนาดเล็กตั้งอยู่ทางทิศเหนือ และ ใต้รอบๆปรางคืเล็กมีเจดีย์ล้อมรอบอีก ๔ ด้านนอกจากนี้ยังมีเจดีย์เล็กบ้าง ใหญ่บ้างอยู่รอบๆ องค์พระปรางค์ประมาณ ๒๘ องค์ วัดพระรามนี้เป็นที่น่าสังเกตอย่างหนึ่ง คือ กำแพงวัดพระรามด้านเหนือ มีแนวเหลื่อมกันอยู่กำแพงด้านตะวันออก ตะวันตก และด้านใต้ มีซุ้มประตูค่อนไปทางทิศตะวันตกได้ระดับกับมุมระเบียงด้านตะวันตกเฉียงหนือของปรางค์ส่วนแนวเหลื่อมนั้นได้ระดับกับมุมระเบียงตะวันออกเฉียงเหนือของปรางค์ ไม่มีซุ้มประตู คล้ายเจตนาสร้างไว้เพื่อประสงค์อะไรอย่างหนึ่ง
วิหาร ๗ หลัง ๑ วิหารใหญ่อยู่ทางด้านหน้าวัด ทางทิศตะวันออกของพระปรางค์ วิหารองค์นี้ยังเหลือซากให้เห็นลักษณะและขนาดอยู่โดยรอบและเสากลมใหญ่แต่งเหลี่ยมสูงเกือบถึงบัว หัวเสา เป็นวิหารที่เชื่อมต่อกับพระปรางค์องค์ใหญ่ เดินถึงกันตรงระเบียง ๒ วิหารน้อย อยู่ทางด้านทิศใต้ หันหน้าไปทางทิศตะวันออก เป็นวิหารที่มีด้านหลังเชื่อมต่อกับเจดีย์ใหญ่ ซึ่งปรักหักพังไปแล้ว คงเหลือแต่มูลดินทิ้งไว้ให้ศึกษา ๓ วิหารอยู่ทางมุมด้านตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นวิหารขนาดกลาง มีเจดีย์ใหญ่ฐานสี่เหลี่ยมอยู่หลังวิหาร วิหารนี้หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ๔ วิหารน้อย หันหน้าไปทางทิศตะวันออก เหลือแต่ด้านข้างสองด้านมุมวิหารน้อยทางด้านตะวันตกเฉียงใต้มีเจดีย์เล็กองค์หนึ่ง ๕ วิหารเล็ก อยู่ด้านหน้าของพระอุโบสถ มีประตูอยู่ทางด้านทิศตะวันออกและตะวันตกข้างละ ๑ ประตู ๖ วิหาร หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ภายในมีเสาเหลี่ยมปรักหักพังด้านหลังวิหารมีเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยมองค์หนึ่ง ปรักหักพังเช่นกัน ๗ วิหาร อยู่ทางด้านทิศตะวันตกของปรางค์ มีวิหารขนาดย่อมกว่าวิหารด้านตะวันออกเล็กน้อยเชื่อมระเบียงองค์ปรางค์ที่ระเบียง มีบันไดหน้าวิหารตรงกับซุ้มประตู ปัจจุบันเหลือแต่ฐาน