Amazing Thailand
Land of smiles

พิพิธภัณฑ์สงครามอักษะและเชลยศึก

พิพิธภัณฑ์สงครามอักษะและเชลยศึก มีชื่อภาษาอังกฤษว่า THE JEATH WAR MUSEUM ต่อมาเป็นที่รู้จักกันสำหรับชาวต่างประเทศว่า WAR MUSEUM หรือพิพิธภัณฑ์สงคราม

Recommended for
Adults

พิพิธภัณฑ์สงครามอักษะและเชลยศึก มีชื่อภาษาอังกฤษว่า THE JEATH WAR MUSEUM ต่อมาเป็นที่รู้จักกันสำหรับชาวต่างประเทศว่า WAR MUSEUM หรือพิพิธภัณฑ์สงคราม

เหตุที่ใช้ชื่ออย่างนี้ เนื่องจากพิพิธภัณฑ์นี้เป็นที่เก็บรวบรวมเอกสาร หลักฐานภาพเขียน ภาพถ่าย ตลอดจนเครื่องใช้สอยต่างๆ อันเกี่ยวกับเหตุการณ์สร้างทางรถไฟสายมรณะกาญจนบุรี-พม่า ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นที่ประจักษ์ตามหลักฐานว่าในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพญี่ปุ่นได้เกณฑ์เชลยศึกเข้าสู่กาญจนบุรีเพื่อสร้างทางรถไฟจากหนองปลาดุกมุ่งตรงไปทางตะวันตกของกาญจนบุรี อันเป็นแนวชายแดนติดกับพม่า เชลยศึกส่วนใหญ่มาจาก 3 ประเทศ คือ อังกฤษ ออสเตรเลีย ฮอลแลนด์(เนเธอแลนด์) และบางส่วนจากอเมริกา ดังนั้นชื่อพิพิธภัณฑ์จึงตั้งขึ้นเพ่อเป็นเกียรติแก่เชลยศึกจากประเทศเหล่านั้นที่ต้องสังเวยชีวิตเพราะการสร้างทางรถไฟสายนี้กว่า 16,000 คน จนกระทั่งทางรถไฟสายนี้ได้รับการขนานนามจากบรรดาเชลยศึกว่า THE DEATH RAIL WAY หรือทางรถไฟสายมรณะ

กล่าวคือคำว่า JEATH อันเป็นชื่อพิพิธภัณฑ์นั้นมาจากคำย่อของคำว่า

Japan (J) คือ ญี่ปุ่น ในฐานะที่เป็นกองทัพควบคุมเชลยศึกสงครามสร้างทางรถไฟ

England (E) คือ อังกฤษ

Australia, America (A) คือ ออสเตรเลียและอเมริกา

Thailand (T) คือ ไทย ในฐานะที่เป็นเจ้าของประเทศ

Holland (H) คือ ประเทศฮอลแลนด์

ลักษณะของพิพิธภัณฑ์

พิพิธภัณฑ์ เป็นพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ซึ่งเก็บรวบรวมภาพถ่าย ภาพเขียนและบทความเกี่ยวกับการสร้างทางรถไฟ ซึ่งเริ่มจากหนองปลาดุก จังหวัดราชบุรี ผ่านเข้าสู่จังหวัดกาญจนบุรี และเข้าสู่ชายแดนประเทศพม่าที่อำเภอสังขละบุรี รวมระยะทาง 263 กม. ในเขตไทย และอีก 152 กม. ในเขตพม่า รวมระยะทาง 415 กม. เส้นทางรถไฟทั้ง 2 ตอนนี้ เริ่มสร้างางเขตไทย เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2485 จึงถึงเดือนพฤศจิกายน 2486 ทางก็บรรจบกันที่อำเภอสังขละบุรี กองทัพจักรพรรดิ์ญี่ปุ่นได้ฉลองสะพานและทางรถไฟสายนี้เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2486 ในการสร้างทางรถไฟสายนี้ กองทัพญี่ปุ่นได้เกณฑ์ชาวออสเตรเลีย อังกฤษ เนเธอร์แลนด์ ฯลฯ เกือบ 30,000 คน และคนงานท้องถิ่นจากประเทศ จีน สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย อินเดีย เกือบ 100,000 คน ให้ทำงานก่อนสร้างทางรถไฟสายนี้อย่างเร่งรีบและเสร็จในระยะเวลา 16 เดือน เชลยศึกต้องสังเวยชีวิตให้กับการสร้างทางรถไฟสายนี้ 16,000 คน และคนงานท้องถิ่นจากประเทศต่างๆ เกือบ 100,000 คน เนื่องจากต้องผจญภัยกับไข้ป่านานาชนิดความโหดร้ายของธรรมชาติป่าดงดิบ ความขาดแคลนอาหาร ยารักษาโรค และการทำงานหนักอย่างหามรุ่งหามค่ำ จนกระทั่งทางรถไฟสายนี้ถูกเปรียบเทียบไว้ว่า “ไม้หมอนแต่ละท่อนตลอดทางรถไฟสายนี้เท่ากับชีวิตของเชลยศึกและคนงานที่ต้องล้มตายลงจากการสร้างทางรถไฟนี้ทีเดียว”


การจัดแสดง

อาคารพักเชลยศึก

ส่วนที่ 1 คือ อาคารจำลองที่พักเชลยศึก ท่านจะได้เห็นลักษณะของอาคารค่ายพักซึ่งเชลยศึกต้องพักอยู่ร่วมกันและถูกกักกันในระหว่างการก่อสร้างทางรถไฟ เป็นอาคารที่ใช้ไม้ไผ่ทั้งหมด หลังคามุงจาก ฝาขัดแตะด้วยไม้รวก ด้านในยกพื้นขี้นฟ้าปูด้วยฟากไม้ไผ่ ซึ่งใช้เป็นที่สำหรับนอนของพวกเชลย

ส่วนที่ 2 คือ ภาพถ่าย ภาพเขียน ที่แสดงถึงชีวิตความเป็นอยู่ของเชลย ในขณะที่สร้างทางรถไฟว่า ได้รับความลำบากขนาดไหน

ส่วนที่ 3 คือ เครื่องใช้ไม้สอยของเชลยศึกที่ได้นำมาแลกกับอาหารและผลไม้ไว้กับคนไทย เมื่อขาดแคลนอาหารโดยได้รับมอบจากผู้มีจิตศรัทธาเพื่ออนุรักษ์ไว้ นอกจากนี้ยังมีอาวุธปืน ระเบิด และอุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆ เช่น หมวก รองเท้า ช้อนส้อม มีด ฯลฯ

อนุสรณ์สถานแห่งนี้ ไม่ได้จัดตั้งขึ้นเพื่อดำรงความเกลียดชัง ระหว่างมนุษยชาติให้คงอยู่นานเท่านาน ดังเช่นทรากสงคราม แต่พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ถูกจัดสร้างขึ้นเป็นบทเรียนแก่มนุษยชาติว่า “สงครามได้ก่อความสูญเสียให้ทั้งฝ่ายแพ้และฝ่ายชนะเท่าๆ กัน” ขอสันติภาพจงอยู่คู่โลก และความรุนแรงจงพ่ายแพ้ต่อสันติในทุกๆ ที่

เปิด 8.30 – 16.30 น. ทุกวัน

2GR4+C3X
Ban Tai
Mueang Kanchanaburi District
Kanchanaburi 71000

Reviews (0)
No reviews yet.
0:00