Amazing Thailand
Land of smiles
ขับรถขึ้นเขา-ลงเขา มีเทคนิคขับรถอย่างไรให้ปลอดภัย
เทคนิคขับรถขึ้นเขา-ลงเขา อย่างไรให้ปลอดภัย
ในการขับรถขึ้นเขา-ลงเขาควรต้องใช้ความระมัดระวังให้มากๆ เพราะถนนมีความลาดชัน ซึ่งอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่ายๆ โดยเทคนิคในการขับรถขึ้นเขา และขับรถลงเขา ที่เพื่อนๆ ควรรู้ มีดังต่อไปนี้
1. ใช้เกียร์ต่ำ
ขณะขับรถขึ้นเขาควรใช้เกียร์ต่ำ หากเป็นรถเกียร์ออโต้ให้ใช้เกียร์ D1 หรือ D2 ขึ้นอยู่กับความชันของถนน ทั้งนี้การใช้เกียร์ต่ำ จะเป็นตัวช่วยส่งกำลังให้รถสามารถขึ้นหรือลงเนินและทางลาดชันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ทำให้รถไหลเร็วเกินไปจนเสียการควบคุม
2. ใช้ความเร็วประมาณ 50-80 กม./ชม.
เพราะถนนบนดอยมักมีทางโค้งและความลาดชัน ดังนั้นจึงควรใช้ความเร็วที่เหมาะสม ไม่ขับรถเร็วเกินไป โดยควรใช้ความเร็วประมาณ 50-80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยเฉพาะใครที่ไม่ค่อยคุ้นทาง หรือไม่เคยขับรถขึ้นเขา-ลงเขามาก่อน นอกจากนี้ควรเว้นระยะห่างจากคันหน้าประมาณ 30-50 เมตร เผื่อกรณีฉุกเฉินจะได้ขับรถหลบอย่างทันท่วงที
3. ห้ามใช้เกียร์ว่าง
ขณะขับรถลงเขา ห้ามใช้เกียร์ว่าง หรือเกียร์ N เพื่อปล่อยให้รถไหลเองเด็ดขาด เพราะรถจะไหลลงเขาด้วยความเร็วสูงตามแรงโน้มถ่วง อาจทำให้รถเสียการทรงตัวได้ ทางที่ดีควรใช้เกียร์ต่ำ หรือเกียร์ D1 และ D2 เช่นเดียวกับตอนขึ้นเขา เพื่อเป็นการใช้แรงฉุดจากเครื่องยนต์ (Engine Brake) ในการช่วยเบรก
4. ห้ามเหยียบเบรกค้าง
ห้ามเหยียบเบรกค้างนานๆ หรือเหยียบเบรกแช่ตลอดเวลา เพราะอาจทำให้ผ้าเบรกไหม้ และเสี่ยงต่อการเกิดเบรกแตก หรือเบรกไม่อยู่ได้ ทางที่ดีควรแตะเบรกเบาๆ เป็นระยะๆ ไปพร้อมกับการใช้เกียร์ต่ำ จะช่วยชะลอความเร็วลงให้เหมาะสม ที่สำคัญควรตรวจสอบระบบเบรกรถยนต์ก่อนออกเดินทางทุกครั้ง
5. ห้ามเหยียบคลัตช์
สำหรับรถยนต์ที่ใช้เกียร์ธรรมดา แนะนำว่าไม่ควรเหยียบคลัทช์ไปด้วย เหยียบเบรกไปด้วย เพราะจะยิ่งทำให้รถพุ่งตัวไปข้างหน้าเร็วขึ้น เนื่องจากแรงฉุดจากเครื่องยนต์ถูกตัดขาด อาจทำให้เบรกยากและบังคับรถได้ยากขึ้น ยังไงแล้วควรเหยียบคลัตช์เฉพาะตอนเปลี่ยนเกียร์ และขับรถช้าๆ จะช่วยให้ขับรถลงเขาได้ปลอดภัยและเกาะถนนได้ดี
6. ห้ามแซงทางโค้ง
หากต้องขับรถในทางโค้ง ไม่ควรใช้ความเร็วสูง แต่ควรลดความเร็วลงเพื่อเผื่อระยะในการเบรก หากเป็นโค้งตัว S ควรมองทางให้ไกลว่ามีรถอยู่ด้านหน้าหรือไม่ โดยขณะเข้าโค้งตัว S ควรตัดโค้งในแนวเส้นตรงมากที่สุด แต่ก็ควรมองเห็นโค้งได้จนสุดปลายโค้ง หากมองไม่เห็นห้ามขับในลักษณะตัดโค้งจนเกินเส้นทึบไปครึ่งคัน เพราะอาจเกิดอุบัติเหตุได้หากมีรถสวนทางมา ที่สำคัญไม่ควรแซงทางโค้ง เพราะเราจะมองไม่เห็นรถที่สวนมานั่นเอง
7. บีบแตรให้สัญญาณรถที่อาจสวนทางมา
หากขับรถเข้าทางโค้งแคบ ที่มีสันเขาบดบังสายตา หรือมีมุมอับ ควรเข้าโค้งแบบธรรมดา และต้องบีบแตรให้สัญญาณเตือนรถที่อาจวิ่งสวนทางมาได้
1. ใช้เกียร์ต่ำ
ขณะขับรถขึ้นเขาควรใช้เกียร์ต่ำ หากเป็นรถเกียร์ออโต้ให้ใช้เกียร์ D1 หรือ D2 ขึ้นอยู่กับความชันของถนน ทั้งนี้การใช้เกียร์ต่ำ จะเป็นตัวช่วยส่งกำลังให้รถสามารถขึ้นหรือลงเนินและทางลาดชันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ทำให้รถไหลเร็วเกินไปจนเสียการควบคุม
2. ใช้ความเร็วประมาณ 50-80 กม./ชม.
เพราะถนนบนดอยมักมีทางโค้งและความลาดชัน ดังนั้นจึงควรใช้ความเร็วที่เหมาะสม ไม่ขับรถเร็วเกินไป โดยควรใช้ความเร็วประมาณ 50-80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยเฉพาะใครที่ไม่ค่อยคุ้นทาง หรือไม่เคยขับรถขึ้นเขา-ลงเขามาก่อน นอกจากนี้ควรเว้นระยะห่างจากคันหน้าประมาณ 30-50 เมตร เผื่อกรณีฉุกเฉินจะได้ขับรถหลบอย่างทันท่วงที
3. ห้ามใช้เกียร์ว่าง
ขณะขับรถลงเขา ห้ามใช้เกียร์ว่าง หรือเกียร์ N เพื่อปล่อยให้รถไหลเองเด็ดขาด เพราะรถจะไหลลงเขาด้วยความเร็วสูงตามแรงโน้มถ่วง อาจทำให้รถเสียการทรงตัวได้ ทางที่ดีควรใช้เกียร์ต่ำ หรือเกียร์ D1 และ D2 เช่นเดียวกับตอนขึ้นเขา เพื่อเป็นการใช้แรงฉุดจากเครื่องยนต์ (Engine Brake) ในการช่วยเบรก
4. ห้ามเหยียบเบรกค้าง
ห้ามเหยียบเบรกค้างนานๆ หรือเหยียบเบรกแช่ตลอดเวลา เพราะอาจทำให้ผ้าเบรกไหม้ และเสี่ยงต่อการเกิดเบรกแตก หรือเบรกไม่อยู่ได้ ทางที่ดีควรแตะเบรกเบาๆ เป็นระยะๆ ไปพร้อมกับการใช้เกียร์ต่ำ จะช่วยชะลอความเร็วลงให้เหมาะสม ที่สำคัญควรตรวจสอบระบบเบรกรถยนต์ก่อนออกเดินทางทุกครั้ง
5. ห้ามเหยียบคลัตช์
สำหรับรถยนต์ที่ใช้เกียร์ธรรมดา แนะนำว่าไม่ควรเหยียบคลัทช์ไปด้วย เหยียบเบรกไปด้วย เพราะจะยิ่งทำให้รถพุ่งตัวไปข้างหน้าเร็วขึ้น เนื่องจากแรงฉุดจากเครื่องยนต์ถูกตัดขาด อาจทำให้เบรกยากและบังคับรถได้ยากขึ้น ยังไงแล้วควรเหยียบคลัตช์เฉพาะตอนเปลี่ยนเกียร์ และขับรถช้าๆ จะช่วยให้ขับรถลงเขาได้ปลอดภัยและเกาะถนนได้ดี
6. ห้ามแซงทางโค้ง
หากต้องขับรถในทางโค้ง ไม่ควรใช้ความเร็วสูง แต่ควรลดความเร็วลงเพื่อเผื่อระยะในการเบรก หากเป็นโค้งตัว S ควรมองทางให้ไกลว่ามีรถอยู่ด้านหน้าหรือไม่ โดยขณะเข้าโค้งตัว S ควรตัดโค้งในแนวเส้นตรงมากที่สุด แต่ก็ควรมองเห็นโค้งได้จนสุดปลายโค้ง หากมองไม่เห็นห้ามขับในลักษณะตัดโค้งจนเกินเส้นทึบไปครึ่งคัน เพราะอาจเกิดอุบัติเหตุได้หากมีรถสวนทางมา ที่สำคัญไม่ควรแซงทางโค้ง เพราะเราจะมองไม่เห็นรถที่สวนมานั่นเอง
7. บีบแตรให้สัญญาณรถที่อาจสวนทางมา
หากขับรถเข้าทางโค้งแคบ ที่มีสันเขาบดบังสายตา หรือมีมุมอับ ควรเข้าโค้งแบบธรรมดา และต้องบีบแตรให้สัญญาณเตือนรถที่อาจวิ่งสวนทางมาได้