Amazing Thailand
Land of smiles

อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์

ศิลปะการก่อสร้างอยู่ในยุคลพบุรีตอนปลาย ประมาณพุทธศตวรรษที่ 16-18 ผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส มีเนื้อที่ประมาณ 800 กว่าไร่

ประจักษ์พยานแห่งอารยธรรมขอมที่เกิดขึ้นในกาญจนบุรีโดยสันนิษฐานว่า มีจุดมุ่งหมายสร้างขึ้นเพื่อเป็น พุทธศาสนสถานในพุทธศาสนา ซึ่งทางกรมศิลปากรได้เริ่มต้นเข้ามาทำการบูรณะอย่างจริงจังเมื่อปี พ.ศ. 2517 จนแล้วเสร็จเป็นอุทยานประวัติศาสตร์ เมื่อ พ.ศ. 2530 ทั้งนี้มีการสันนิษฐานว่าสถาปัตยกรรมและประติมากรรม ของปราสาทเมืองสิงห์นั้น มีความคล้ายคลึงกับปราสาทขอมสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ( พ.ศ. 1720-1780) กษัตริย์นักสร้างปราสาทแห่งอารยธรรมขอมโบราณ โดยสิ่งสำคัญที่พบในปราสาทแห่งนี้ คือ พระพุทธรูปนาคปรก พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรและนางปรัชญาปารมิตา และรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเปล่งรัศมีอีกองค์หนึ่ง รูปลักษณ์คล้ายกับที่พบในประเทศกัมพูชา ซึ่งปัจจุบันได้นำไปเก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ในปัจจุบันเราสามารถเดินชมโบราณสถานของปราสาทเมืองสิงห์ สามารถแบ่งเป็นโซนต่าง ๆ ดังนี้ - โบราณสถานหมายเลข 1เป็นปราสาทที่มีความโดดเด่นและสมบูรณ์กว่าจุดอื่น ตั้งอยู่บริเวณใจกลางด้านหน้าของตัวเมือง มีชานศิลาแลงรูปกากบาทอยู่ด้านหน้าปราสาท ถัดไปเป็นกำแพงแก้วล้อมรอบปราสาทและประตูกำแพง ภายในกำแพงแก้วบริเวณด้านหน้าปราสาท เป็นลานศิลาแลงซึ่งต่อกับโคปุระ (ซุ้มประตู) ต่อเนื่องไปกับระเบียงคดซึ่งล้อมรอบตัวปราสาท ส่วนภายในปราสาทมีบรรณาลัยตั้งอยู่ด้านหน้าติดกับระเบียงคด เป็นที่เก็บตำราหรือคัมภีร์ต่าง ๆ ส่วนใจกลางคือปราสาทประธาน ซึ่งตั้งอยู่บนฐานปัทม์รูปสี่เหลี่ยมย่อเก็จ มีมุขยื่นออกไปทั้งสี่ด้าน ส่วนยอดของเรือนธาตุได้ทลายลงไป และภายในปราสาทประธานยังเป็นที่ประดิษฐานพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร - โบราณสถานหมายเลข 2เป็นปราสาทซึ่งมีลักษณะคล้ายกับโบราณสถานหมายเลข 1 แต่มีขนาดเล็กกว่า สภาพโบราณสถานค่อนข้างชำรุดมาก จากการบูรณะได้มีการค้นพบประติมากรรมและแท่น ฐานประติมากรรม วางเป็นแนวตามระเบียงคดจำนวนมาก โดยประติมากรรมที่พบได้แก่ พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร นางปรัชญาปารมิตา - โบราณสถานหมายเลข 3ปรากฏเหลือเฉพาะส่วนฐาน ซึ่งมีขนาดเล็กก่อด้วยศิลาแลง ตั้งอยู่บนฐานเขียงรูปสี่เหลี่ยม ได้มีการพบพระพิมพ์เนื้อตะกั่วในบริเวณนี้ - โบราณสถานหมายเลข 4ปรากฏเหลือเฉพาะแนวก่อของศิลาแลง - หลุมขุดค้นทางโบราณคดีซึ่งมีการค้นพบทั้งโครงกระดูก เครื่องมือเครื่องใช้ ภาชนะสำริด ดินเผา เครื่องมือเหล็ก สร้อยคอทำด้วย ลูกปัดหินและลูกปัดแก้ว ทำให้สามารถชี้ชัดได้ว่าชุมชนเหล่านี้เกิดขึ้นก่อนที่จะสร้างเมืองสิงห์ เพราะเป็นศพของคนที่เสียชีวิตมา 2,000 ปีแล้วเปิดทำการเวลา 08.00-16.30 น.



Sing
Sai Yok District
Kanchanaburi 71150

Reviews (0)
No reviews yet.
0:00