อาคารใบหยก 2 (Baiyoke Tower II)
ตึกใบหยก 2 เป็นตึกระฟ้าในกรุงเทพมหานคร ปัจจุบันเป็นตึกที่สูงเป็นลำดับที่ 4 ของประเทศไทย
ตึกใบหยกสกาย เคยเป็นตึกที่สูงที่สุดในประเทศไทย ตั้งอยู่บริเวณประตูน้ำ ซึ่งเป็นศูนย์กลางการพานิชย์และการค้าการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่สำคัญของกรุงเทพฯ มีส่วนที่เป็นร้านค้า โรงแรม ห้องอาหาร
สัมผัสความมหัศจรรย์ของตึกใบหยกสกาย ตึกที่เคยเป็นตึกสูงที่สุดในประเทศไทยด้วยขนาดความสูงถึง 88 ชั้น หรือ 309 เมตรจากพื้นดิน โดยมีขั้นบันไดรวมกันทั้งสิ้น 2,060 ขั้น และมีลิฟต์คอยให้บริการกว่า 20 ตัว โดยเฉพาะลิฟต์แก้วจากชั้น 1 ถึงชั้น 77 ที่เคยเป็นลิฟต์ที่สูงที่สุดในประเทศไทยและมีความเร็วสูง โดยสามารถขึ้นจากชั้น 1 ถึงชั้น 77 ด้วยเวลาเพียง 80 วินาที ไฮไลต์ของที่นี่คือหอชมวิว ชั้น 77 ชื่นชมทัศนียภาพของเมืองกรุงฯ อย่างใกล้ชิด ด้วยบริการกล้องเทเลสโคป พร้อมเรียนรู้สาระเกร็ดประวัติศาสตร์จากนิทรรศการภาพถ่ายประวัติศาสตร์เรื่องราวสมัยรัตนโกสินทร์ วีดิทัศน์เรื่องราวประวัติและศิลปวัฒนธรรมของไทยที่จัดแสดงด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยอย่างคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ และพลาดไม่ได้กับดาดฟ้าพื้นหมุน ชั้น 84 จุดชมวิวที่เคยสูงที่สุดในกรุงเทพฯ โดยไม่มีกระจกขวางกั้น พื้นดาดฟ้าจะหมุนไปรอบตัวอาคารช้า ๆ ให้คุณได้ชมวิวในแบบ 360 องศา อัตราค่าเข้าชมท่านละ 200 บาท (ราคานี้รวมทั้ง 2 ชั้น และเครื่องดื่ม) ก่อนจะเก็บภาพสวยงามที่ถ่ายจากมุมจำลองถ่ายภาพที่ระลึกในรูปแบบต่าง ๆ และแวะร้านขายของที่ระลึกตามชอบใจ
Lobby เวลาเปิด วันธรรมดา 10.30-22.30 น. และวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 09.30-22.30 น. - ห้องอาหารบางกอกสกาย ชั้น 76 และ 78 บริการอาหารบุฟเฟต์ซีฟู้ดนานาชาติ ทั้งอาหารไทย จีน ญี่ปุ่น และยุโรป รวมทั้งผลไม้ ของหวาน ไอศกรีมให้เลือกอร่อยได้อย่างจุใจ - ภัตตาคารสเตลล่า พาเลซ ชั้น 79 บุฟเฟต์นานาชาติและซีฟู้ดหม้อไฟ พร้อมบริการพิเศษสุดห้อง V.I.P. คาราโอเกะฟรี - ห้องคริสตัล กริลล์ ชั้น 82 หรูหราแบบส่วนตัวสไตล์กริลล์และซีฟู้ดบุฟเฟต์ เนื้อเซอร์ลอยด์นำเข้าจากออสเตรเลีย - The Roof Top ชั้น 83 สถานบันเทิงที่สูงที่สุดในประเทศไทย เพลิดเพลินกับบรรยากาศโรแมนติก พร้อมเสียงดนตรีอันไพเราะจากวงดนตรีมืออาชีพ เปิดบริการทุกวันตั้งแต่เวลา 10.30-01.00 น. ที่ตั้ง : ถนนราชปรารภ เขตราชเทวี กรุงเทพฯ
ประวัติ
ตึกใบหยก 2 เป็นอาคารในเครือใบหยก ซึ่งมี พันธ์เลิศ ใบหยก เป็นประธานและกรรมการผู้จัดการ ก่อสร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2540 โรงแรมเริ่มเปิดให้บริการใน เดือนมกราคม พ.ศ. 2541 และในปีเดียวกันมีการติดตั้งเสาส่งสัญญาณโทรทัศน์ช่อง ไอทีวี ออกอากาศระบบยูเอชเอฟ ช่อง 29 ของตึกใบหยก 2 ที่ความสูง 54 เมตร (150 ฟุต) บนยอดตึก และหลังจากนั้น สทท. กรมประชาสัมพันธ์ ระบบวีเอชเอฟ ช่อง 11 / เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2547 โมเดิร์นไนน์ทีวี (ชื่อในขณะนั้นของ ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี) ระบบวีเอชเอฟ ช่อง 9 / เดือนมีนาคม พ.ศ. 2548 ช่อง 3 ได้เปลี่ยนระบบการส่งเป็นระบบยูเอชเอฟ ช่อง 32 ออกอากาศรวมกันโดยใช้เสาส่งสัญญาณโทรทัศน์ช่องไอทีวีออกอากาศ (ต่อมาใช้ชื่อว่า ทีไอทีวี และปัจจุบันใช้ชื่อว่า ไทยพีบีเอส) ซึ่งตึกใบหยก 2 นับว่าเป็น ตึกระฟ้า หลังแรกของ ประเทศไทย ที่มีความสูงเกิน 300 เมตร
ต่อมาในปี พ.ศ. 2556 ได้มีการทดลองการออกอากาศทางโทรทัศน์ระบบดิจิทัลภาคพื้นดิน จึงมีรายละเอียดการออกอากาศดังนี้ ททบ. ระบบยูเอชเอฟ ช่อง 36 (ใช้โครงข่ายที่ 2) / บมจ. อสมท (หรือช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี) ระบบยูเอชเอฟ ช่อง 40 (ใช้โครงข่ายที่ 3)และในปี พ.ศ. 2557 ซึ่งเป็นปีที่มีการออกอากาศทางโทรทัศน์ระบบดิจิทัลภาคพื้นดินอย่างเป็นทางการ จึงได้มีการเริ่มออกอากาศช่องความถี่โครงข่ายโทรทัศน์เพิ่มเติมคือ กรมประชาสัมพันธ์ (หรือ สทท.) ช่อง 26 (ใช้โครงข่ายที่ 1) / ไทยพีบีเอส ช่อง 44 (ใช้โครงข่ายที่ 4) / ททบ. ช่อง 52 (ใช้โครงข่ายที่ 5) เพราะด้วยความสูงของอาคาร ทำให้เสาส่งสัญญาณสามารถทำหน้าที่แพร่กระจายสัญญาณโทรทัศน์ได้ทั่วถึงในพื้นที่ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล จึงทำให้อาคารฯ กลายเป็นที่ตั้งของสถานีเครื่องส่งโทรทัศน์หลักของ กรุงเทพมหานคร
Phaya Thai
Ratchathewi
Bangkok 10400
Thailand