Amazing Thailand
Land of smiles
พระราชวังฤดูร้อนบางปะอิน
เดินชมพระราชวังบางปะอิน พร้อมบรรยากาศพระราชอุทยานโดยรอบ ไปในฤดูหนาวจะเดินสบายๆ และใช้เวลาดื่มดำกับบรรยากาศ หาความรู้จากห้องแสดงนิทรรศการและพิพิธภัณฑ์ภายในพระราชวังบางปะอิน ไม่ไกลจากกรุงเทพ
Attraction type
Historical
พระราชวังบางปะอิน เป็นพระราชวังโบราณสมัยกรุงศรีอยุธยา สร้างขึ้นโดยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง เนื่องจากเป็นที่ประสูติของพระองค์ และใช้เป็นพระราชวังฤดูร้อนสำหรับพระมหากษัตริย์กรุงศรีอยุธยาจวบจนกระทั่งเสียกรุงศรีฯให้พม่า
หลังจากการเสียกรุงศรีฯ พระราชวังบางปะอินถูกปล่อยให้รกร้าง และกลับมาเป็นที่รู้จักอีกครั้งเมื่อครั้งสุนทรภู่ ซึ่งได้ตามเสด็จรัชกาลที่ ๑ ไปนมัสการพระพุทธบาทสระบุรี โดยได้ประพันธ์ถึงพระราชวังบางปะอินไว้ใน นิราศพระบาท จนกระทั่งในสมัยรัชกาลที่ ๔ จึงได้เริ่มมีการบูรณะพระราชวัง และในสมัยรัชกาลที่ ๕ ได้มีการบูรณะครั้งใหญ่ โดยได้สร้างพระที่นั่ง พระตำหนัก และตำหนักต่างๆ ขึ้นเพื่อใช้เป็นที่ประทับรับรองพระราชอาคันตุกะและพระราชทานเลี้ยงในโอกาสต่างๆ
ปัจจุบัน พระราชวังบางปะอิน อยู่ในความดูแลของ สำนักพระราชวัง และยังใช้เป็นสถานที่แปรพระราชฐานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์ รวมถึงประกอบพระราชพิธีสังเวยพระป้าย แต่ก็ได้เปิดให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวเข้าชมได้ โดยต้องแต่งกายให้สุภาพ
พื้นที่ของพระราชวังบางปะอิน แบ่งออกเป็น ๒ ส่วน ได้แก่
เขตพระราชฐานชั้นนอก ประกอบด้วย
หอเหมมณเฑียรเทวราช หรือ ศาลพระเจ้าปราสาททอง มีลักษณะเป็นปรางค์ศิลาจำลองแบบจากปรางค์ขอม ภายในประดิษฐานเทวรูปพระเจ้าปราสาททอง ตั้งอยู่ ณ ริมสระน้ำใต้ต้นโพธิ์
พระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์ เป็นพระที่นั่งทรงปราสาท จำลองมาจากพระที่นั่งอาภรณ์ภิโมกข์ปราสาทในพระบรมมหาราชวัง รัชกาลที่ ๖ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระบรมรูปหล่อสำริดของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขนาดเท่าพระองค์จริงในฉลองพระองค์เต็มยศจอมพลทหารบก เพื่อนำมาประดิษฐาน ณ พระที่นั่งองค์นี้จนถึงปัจจุบัน
พระที่นั่งวโรภาษพิมาน เป็นอาคาร ๒ ชั้น ศิลปะแบบคอรินเทียนออร์เดอร์ รัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นที่เสด็จออกว่าราชการและใช้เป็นที่ประทับ ปัจจุบันพระที่นั่งองค์นี้ยังใช้เป็นที่ประทับแรมของพระบรมวงศ์เมื่อเสด็จแปรพระราชฐานมาประทับ ณ พระราชวังบางปะอิน
สภาคารราชประยูร เป็นตึก ๒ ชั้น ตั้งอยู่ริมน้ำ ใช้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอฯ ในรัชกาลที่ ๕สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ และเจ้านายฝ่ายหน้า ปัจจุบันใช้เป็นที่แสดงนิทรรศการเกี่ยวกับพระราชวังบางปะอิน
กระโจมแตร เป็นกระโจมขนาดกลางแบบ Gazebo สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๖ ตั้งอยู่เยื้องกับพระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์
เรือนแพพระที่นั่ง เป็นเรือนแพแบบไทยสร้างด้วยไม้สักทอง หลังคามุงด้วยจาก ภายในจัดแบ่งห้องเป็นสัดส่วนรัชกาลที่ ๕ ทรงใช้เป็นที่ประทับในการเสด็จประพาสต้นและทรงสำราญพระอิริยาบถทางน้ำ โดยพระองค์เคยประทับเรือนแพพระที่นั่ง ไปทรงรับพระราชชายาเจ้าดารารัศมีจากเมืองเชียงใหม่ด้วย
เขตพระราชฐานชั้นใน ประกอบด้วย
พระที่นั่งอุทยานภูมิเสถียร เป็นพระที่นั่งองค์ประธานของพระราชวังบางปะอิน เดิมเป็นเรือนไม้ ๒ ชั้น ทาสีเขียวอ่อนและเขียวแก่สลับกัน เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๑ เกิดไฟไหม้พระที่นั่ง และในปี พ.ศ.๒๕๓๗ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ ๙ จึงได้ขอพระบรมราชานุญาตให้สร้างพระที่นั่งองค์นี้ขึ้นมาใหม่ เพื่อเป็นที่ประทับในการเสด็จแปรพระราชฐานและรับรองพระราชอาคันตุกะ
หอวิฑูรทัศนา ใช้เป็นที่ทอดพระเนตรโขลงช้างป่า และภูมิประเทศโดยรอบพระราชวัง เป็นหอสูง ๓ ชั้น ทาสีเหลืองสลับแดง
เก๋งบุปผาประพาส สร้างขึ้นในรัชกาลที่ ๕ ทรงใช้เป็นที่พักผ่อนพระราชอิริยาบถภายในพระราชอุทยาน
พระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ เป็นพระที่นั่งองค์สุดท้ายที่สร้างขึ้น มีรูปแบบสถาปัตยกรรมจีน เป็นพระที่นั่งที่สร้างขึ้นโดยชาวสยามเชื้อสายจีนฮากกาเพื่อถวายแด่รัชกาลที่ ๕ และพระที่นั่งองค์นี้ยังใช้ประกอบพระราชพิธีสังเวยพระป้ายจนถึงปัจจุบัน
หมู่พระตำหนักฝ่ายใน เป็นอาคารที่มีสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกชั้นเดียวและสองชั้นตั้งเรียงรายกัน แต่ในปัจจุบัน ได้มีการรื้อตำหนักบางส่วนลง
อนุสาวรีย์สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ เป็นอนุสาวรีย์ที่รัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ ซึ่งสวรรคตในระหว่างการเสด็จแปรพระราชฐานมายังพระราชวังบางปะอิน
อนุสาวรีย์ราชานุสรณ์ เป็นอนุสาวรีย์ที่รัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงพระอรรคชายาเธอพระองค์เจ้าเสาวภาคย์นารีรัตน์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ , สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าพาหุรัดมณีมัย และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าตรีเพ็ชรุตม์ธำรง ซึ่งสิ้นพระชนม์ภายในปีเดียวกัน
ประตูเทวราชครรไล ปัจจุบันใช้เป็นพิพิธภัณฑ์รถม้าพระที่นั่ง รถม้าในประเทศไทยเริ่มใช้กันตั้งแต่สมัยต้นรัตนโกสินทร์ และแพร่หลายในสมัยรัชกาลที่ ๕ หลังจากที่พระองค์เสด็จกลับมาจากการประพาสยุโรป ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๖ ได้โปรดเกล้าให้จัดตั้งกรมพระอัศวราชขึ้น โดยให้มีหน้าที่จัดหารถม้าและม้าเพื่อใช้ในราชการ
การเดินทาง
โดยรถยนต์ จากกรุงเทพฯ
- ใช้เส้นทางถนนพหลโยธิน เมื่อถึง ประตูน้ำพระอินทร์ ให้ข้ามสะพานวงแหวนรอบนอก และให้เลี้ยวซ้ายบริเวณกิโลเมตรที่ 35 สู่ทางหลวงหมายเลข 308 อีกประมาณ 7 กิโลเมตรก็จะถึงพระราชวังบางปะอิน
- ใช้เส้นทางผ่านเข้าตัวเมืองพระนครศรีอยุธยา เมื่อถึงเจดีย์วัดสามปลื้ม ให้เลี้ยวซ้าย ผ่านวัดใหญ่ชัยมงคล วัดพนัญเชิง เมื่อถึงสถานีรถไฟบางปะอินให้เลี้ยวขวา แล้วขับไปตามทางจนถึงพระราชวังบางปะอิน
รถโดยสารประจำทางและรถตู้ เส้นทางกรุงเทพฯ-บางปะอิน ออกจากสถานีขนส่งหมอชิต ถนนกำแพงเพชร 2 ทุกวัน
รถไฟ ลงสถานีปางปะอิน จากนั้นต่อ รถสองแถว รถสามล้อเครื่อง หรือรถจักรยานยนต์ไปยังพระราชวังบางปะอิน
วันและเวลาทำการ
เปิดให้บริการทุกวัน เวลา 08.00 - 17.00 น.
หลังจากการเสียกรุงศรีฯ พระราชวังบางปะอินถูกปล่อยให้รกร้าง และกลับมาเป็นที่รู้จักอีกครั้งเมื่อครั้งสุนทรภู่ ซึ่งได้ตามเสด็จรัชกาลที่ ๑ ไปนมัสการพระพุทธบาทสระบุรี โดยได้ประพันธ์ถึงพระราชวังบางปะอินไว้ใน นิราศพระบาท จนกระทั่งในสมัยรัชกาลที่ ๔ จึงได้เริ่มมีการบูรณะพระราชวัง และในสมัยรัชกาลที่ ๕ ได้มีการบูรณะครั้งใหญ่ โดยได้สร้างพระที่นั่ง พระตำหนัก และตำหนักต่างๆ ขึ้นเพื่อใช้เป็นที่ประทับรับรองพระราชอาคันตุกะและพระราชทานเลี้ยงในโอกาสต่างๆ
ปัจจุบัน พระราชวังบางปะอิน อยู่ในความดูแลของ สำนักพระราชวัง และยังใช้เป็นสถานที่แปรพระราชฐานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์ รวมถึงประกอบพระราชพิธีสังเวยพระป้าย แต่ก็ได้เปิดให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวเข้าชมได้ โดยต้องแต่งกายให้สุภาพ
พื้นที่ของพระราชวังบางปะอิน แบ่งออกเป็น ๒ ส่วน ได้แก่
เขตพระราชฐานชั้นนอก ประกอบด้วย
หอเหมมณเฑียรเทวราช หรือ ศาลพระเจ้าปราสาททอง มีลักษณะเป็นปรางค์ศิลาจำลองแบบจากปรางค์ขอม ภายในประดิษฐานเทวรูปพระเจ้าปราสาททอง ตั้งอยู่ ณ ริมสระน้ำใต้ต้นโพธิ์
พระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์ เป็นพระที่นั่งทรงปราสาท จำลองมาจากพระที่นั่งอาภรณ์ภิโมกข์ปราสาทในพระบรมมหาราชวัง รัชกาลที่ ๖ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระบรมรูปหล่อสำริดของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขนาดเท่าพระองค์จริงในฉลองพระองค์เต็มยศจอมพลทหารบก เพื่อนำมาประดิษฐาน ณ พระที่นั่งองค์นี้จนถึงปัจจุบัน
พระที่นั่งวโรภาษพิมาน เป็นอาคาร ๒ ชั้น ศิลปะแบบคอรินเทียนออร์เดอร์ รัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นที่เสด็จออกว่าราชการและใช้เป็นที่ประทับ ปัจจุบันพระที่นั่งองค์นี้ยังใช้เป็นที่ประทับแรมของพระบรมวงศ์เมื่อเสด็จแปรพระราชฐานมาประทับ ณ พระราชวังบางปะอิน
สภาคารราชประยูร เป็นตึก ๒ ชั้น ตั้งอยู่ริมน้ำ ใช้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอฯ ในรัชกาลที่ ๕สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ และเจ้านายฝ่ายหน้า ปัจจุบันใช้เป็นที่แสดงนิทรรศการเกี่ยวกับพระราชวังบางปะอิน
กระโจมแตร เป็นกระโจมขนาดกลางแบบ Gazebo สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๖ ตั้งอยู่เยื้องกับพระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์
เรือนแพพระที่นั่ง เป็นเรือนแพแบบไทยสร้างด้วยไม้สักทอง หลังคามุงด้วยจาก ภายในจัดแบ่งห้องเป็นสัดส่วนรัชกาลที่ ๕ ทรงใช้เป็นที่ประทับในการเสด็จประพาสต้นและทรงสำราญพระอิริยาบถทางน้ำ โดยพระองค์เคยประทับเรือนแพพระที่นั่ง ไปทรงรับพระราชชายาเจ้าดารารัศมีจากเมืองเชียงใหม่ด้วย
เขตพระราชฐานชั้นใน ประกอบด้วย
พระที่นั่งอุทยานภูมิเสถียร เป็นพระที่นั่งองค์ประธานของพระราชวังบางปะอิน เดิมเป็นเรือนไม้ ๒ ชั้น ทาสีเขียวอ่อนและเขียวแก่สลับกัน เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๑ เกิดไฟไหม้พระที่นั่ง และในปี พ.ศ.๒๕๓๗ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ ๙ จึงได้ขอพระบรมราชานุญาตให้สร้างพระที่นั่งองค์นี้ขึ้นมาใหม่ เพื่อเป็นที่ประทับในการเสด็จแปรพระราชฐานและรับรองพระราชอาคันตุกะ
หอวิฑูรทัศนา ใช้เป็นที่ทอดพระเนตรโขลงช้างป่า และภูมิประเทศโดยรอบพระราชวัง เป็นหอสูง ๓ ชั้น ทาสีเหลืองสลับแดง
เก๋งบุปผาประพาส สร้างขึ้นในรัชกาลที่ ๕ ทรงใช้เป็นที่พักผ่อนพระราชอิริยาบถภายในพระราชอุทยาน
พระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ เป็นพระที่นั่งองค์สุดท้ายที่สร้างขึ้น มีรูปแบบสถาปัตยกรรมจีน เป็นพระที่นั่งที่สร้างขึ้นโดยชาวสยามเชื้อสายจีนฮากกาเพื่อถวายแด่รัชกาลที่ ๕ และพระที่นั่งองค์นี้ยังใช้ประกอบพระราชพิธีสังเวยพระป้ายจนถึงปัจจุบัน
หมู่พระตำหนักฝ่ายใน เป็นอาคารที่มีสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกชั้นเดียวและสองชั้นตั้งเรียงรายกัน แต่ในปัจจุบัน ได้มีการรื้อตำหนักบางส่วนลง
อนุสาวรีย์สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ เป็นอนุสาวรีย์ที่รัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ ซึ่งสวรรคตในระหว่างการเสด็จแปรพระราชฐานมายังพระราชวังบางปะอิน
อนุสาวรีย์ราชานุสรณ์ เป็นอนุสาวรีย์ที่รัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงพระอรรคชายาเธอพระองค์เจ้าเสาวภาคย์นารีรัตน์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ , สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าพาหุรัดมณีมัย และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าตรีเพ็ชรุตม์ธำรง ซึ่งสิ้นพระชนม์ภายในปีเดียวกัน
ประตูเทวราชครรไล ปัจจุบันใช้เป็นพิพิธภัณฑ์รถม้าพระที่นั่ง รถม้าในประเทศไทยเริ่มใช้กันตั้งแต่สมัยต้นรัตนโกสินทร์ และแพร่หลายในสมัยรัชกาลที่ ๕ หลังจากที่พระองค์เสด็จกลับมาจากการประพาสยุโรป ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๖ ได้โปรดเกล้าให้จัดตั้งกรมพระอัศวราชขึ้น โดยให้มีหน้าที่จัดหารถม้าและม้าเพื่อใช้ในราชการ
การเดินทาง
โดยรถยนต์ จากกรุงเทพฯ
- ใช้เส้นทางถนนพหลโยธิน เมื่อถึง ประตูน้ำพระอินทร์ ให้ข้ามสะพานวงแหวนรอบนอก และให้เลี้ยวซ้ายบริเวณกิโลเมตรที่ 35 สู่ทางหลวงหมายเลข 308 อีกประมาณ 7 กิโลเมตรก็จะถึงพระราชวังบางปะอิน
- ใช้เส้นทางผ่านเข้าตัวเมืองพระนครศรีอยุธยา เมื่อถึงเจดีย์วัดสามปลื้ม ให้เลี้ยวซ้าย ผ่านวัดใหญ่ชัยมงคล วัดพนัญเชิง เมื่อถึงสถานีรถไฟบางปะอินให้เลี้ยวขวา แล้วขับไปตามทางจนถึงพระราชวังบางปะอิน
รถโดยสารประจำทางและรถตู้ เส้นทางกรุงเทพฯ-บางปะอิน ออกจากสถานีขนส่งหมอชิต ถนนกำแพงเพชร 2 ทุกวัน
รถไฟ ลงสถานีปางปะอิน จากนั้นต่อ รถสองแถว รถสามล้อเครื่อง หรือรถจักรยานยนต์ไปยังพระราชวังบางปะอิน
วันและเวลาทำการ
เปิดให้บริการทุกวัน เวลา 08.00 - 17.00 น.
Bang Pa-In Royal Palace
ถนนปราสาททอง Ban Len
Bang Pa-in District
Phra Nakhon Si Ayutthaya 13160
ถนนปราสาททอง Ban Len
Bang Pa-in District
Phra Nakhon Si Ayutthaya 13160